รีวิว The Midnight Club
The Midnight Club เป็นภาพยนตร์ซีรีส์ที่ลงฉายใน Netflix ความยาว 10 ตอนในซีซั่นแรก (ยังไม่มีการประกาศทำภาคต่อ) เป็นซีรีส์สยองขวัญที่กำกับโดย Mike Flanagan และ Leah Fong โดยมีเค้าโครงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Christopher Pike (ค.ศ. 1994)
ซีรีส์เรื่องนี้ อุดมไปด้วยดาราหน้าใหม่มากมาย ทั้ง Ruth Codd (ในบท Anya), William Christ Sumper (ในบท Spencer), Igby Rigney (ในบท Kevin), Aya Furukawa (ในบท Natsuki) มาประกบกับดาราเจ้าประจำ ในภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง Heather Langenkamp ผู้ที่ได้รับฉายา The Scream Queen จากภาพยนตร์สยองขวัญ หลากหลายเรื่อง เช่น A Nightmare on Elm Street ทั้งภาคแรก และภาค 3 มารับบท Dr. Georgia Stanton เจ้าของ และแพทย์ผู้ดูแลบ้านพักผู้ป่วยแห่งนี้ ดูหนังออนไลน์ฟรี
รีวิว The Midnight Club พล็อตเรื่อง
วัยรุ่นคือวัยที่เต็มไปด้วยกำลังวังชา ความสดใสร่าเริง มีหนทางข้างหน้าหลายเส้นให้เลือกเดิน แต่เป็นเรื่องโชคร้ายเมื่อหนทางเหล่านั้นปิดลงเพราะพวกเขาเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย
เด็ก 8 คนจากหลากที่มา ต่างรวมตัวกันเพื่อรอความตายที่บ้านพักผู้ป่วย Brightcliffe จากนั้นสัญญากันว่าจะผลัดกันเล่าเรื่องสยองขวัญทุก ๆ เที่ยงคืน โดยหากคนใดคนหนึ่งตายไป จะพยายามติดต่อคนที่ยังมีชีวิตอยู่จากฝั่งโลกคนตาย รวมรีวิวหนังสยอง
เริ่มกันที่ อิมาน เบนสัน (Iman Benson) รับบทอีลองก้า เด็กสาวผู้เปี่ยมไปด้วยความฝัน อนาคตของเธอสดใส มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกำลังรออยู่ แต่ทุกสิ่งก็พลิกผันเมื่อเธอพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งและการรักษาตลอดระยะเวลา 9 เดือนก็ไม่ช่วยอะไร จนกระทั่งเธอได้พบกับข้อมูลบางอย่างที่สถานดูแลไบรท์คลิฟท์ เธอจึงกลับมามีความหวังอีกครั้ง
นอกจากนี้ยังมี อิกกี้ ริกนีย์ (Igby Rigney) รับบทเควินผู้เข้าอกเข้าใจอีลองก้าและมักให้กำลังใจเธอเสมอ, อันนารา ซีโมน (Annarah Cymone) รับบทแซนดร้า เด็กสาวผู้เคร่งศาสนา, รูธ คอดด์ (Ruth Codd) รับบทอันยา พี่ใหญ่ในสถานดูแลไบรท์คลิฟท์ที่มักอารมณ์เสีย ประชดประชัน และจิกกัดคนอื่น ๆ ตลอดเวลา
เอเดีย (Adia) รับบทเชอรี เด็กสาวที่เพื่อน ๆ ต่างบอกว่าเรื่องเล่าจากปากเธอต้องเอาพันไปหาร, คริส ซัมป์เตอร์ (Chris Sumpter) รับบทสเปนเซอร์ เด็กหนุ่มผู้มีปมทั้งเรื่องแม่และโรคร้ายที่เขาเป็น, อายะ ฟุรุคาวะ (Aya Furakawa) รับบทนัตสึกิ สาวญี่ปุ่นผมผู้เป็นมิตรและ ซอเรียน ซัปโคตา (Sauriyan Sapkota) รับบทอาเมช เด็กหนุ่มเกมเมอร์ หนังแนะนำ
ผู้อาศัยในบ้านพักผู้ป่วย Brightcliffe จะมีประเพณีการรวมตัวกัน ที่ห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืน เพื่อผลัดกันเล่าเรื่องสยองขวัญ ที่แต่งขึ้นมาเอง และให้ปฎิญาณว่า หากพวกเขาตายไป พวกเขาจะกลับมาเพื่อแสดงให้คนที่ยังอยู่รู้ว่า โลกหลังความตายมีอยู่จริง ประเพณีนี้จะเรียกกันว่า The Midnight club และแม้ชมรมนี้จะมีมาเนิ่นนานแล้ว แต่กลับไม่เคยมีเรื่องแปลกเกิดขึ้น จนกระทั่ง Ilonka เข้าร่วม จึงได้เกิดเรื่องแปลกประหลาด เหนือความเข้าใจของพวกเขาอยู่เรื่อย ๆ
การที่ Ilonka มาที่นี่ไม่ใช่เพราะเธอปลงตกกับชีวิตแล้ว แต่เพราะเธอได้ค้นพบข่าวลือว่า หลายสิบปีก่อน มีผู้ป่วยคนหนึ่งที่เข้ามาอาศัยที่นี่ และหายป่วยอย่างมหัศจรรย์ ซึ่งเธอเองก็ต้องการจะรู้วิธีที่จะหายขาดจากอาการป่วยเช่นกัน
“To those before, to those after, to us now and to those beyond. Seen or unseen, here but not here.
แด่ผู้มาก่อน และมาทีหลัง แด่เราตอนนี้ และผู้อยู่โลกหน้า ยังอยู่แต่ไม่ใช่ที่นี่”
คำกล่าวก่อนเริ่มชมรมในแต่ละคืน เปรียบเหมือนพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่เด็กทั้ง 8 มีร่วมกัน ชมรมสยองขวัญแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่มีใครรู้ สิ่งที่รู้แน่คือข้อตกลงที่พวกเขาทำร่วมกัน ใครตายก่อนคนนั้นต้องทำทุกทางเพื่อกลับมาบอกคนที่เหลือให้ได้ว่าโลกหลังความตายเป็นอย่างไร แม้ที่ผ่านมาจะยังไม่เคยมีคนที่ตายไปกลับมา แต่นี่ก็คือสิ่งที่พวกเขายึดถือร่วมกัน
มองความป่วยไข้ ความตาย และชีวิต ผ่านเรื่องเล่าสยองขวัญ หนังดังNetflix
ซีรีส์ ‘The Midnight Club’ โปรโมตด้วยประโยคเด็ด “เมื่อความตายคือพิธีกรรมการเปลี่ยนผ่าน” เราจะได้เห็นการรับมือกับอาการป่วย ความหวัง และความสิ้นหวัง ผ่านตัวละครเด็กวัยรุ่นทั้ง 8 คน ทั้งที่เป็นช่วงวัยที่ควรจะเปี่ยมพลังและมีอนาคตสดใส แต่พวกเขากลับต้องมาอยู่ที่สถานดูแลแห่งนี้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “ทางเลือกสุดท้าย” แบบกลาย ๆ แต่ละคนมีปมชีวิตของตัวเอง พวกเขามีความหวังและความฝันของตัวเอง
ซึ่งซีรีส์ไม่ได้เล่าแบบยัดเยียดแต่พาเราไปสัมผัสกับตัวละครแต่ละตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและเป็นธรรมชาติ ผ่านเรื่องเล่ายามเที่ยงคืนของแต่ละคน รวมถึงผ่านบทสนทนาและกิจวัตรประจำวันของพวกเขาในเวลาปกติด้วย
การแสดงออกและมุมมองความคิดของแต่ละตัวละครทำให้เราได้เห็นว่าแต่ละคนมีวิธีรับมือกับความป่วยไข้ของตัวเองแตกต่างกัน บางคนอาจแค่ทำใจยอมรับแล้วอยู่กับมัน บางคนหงุดหงิดอารมณ์ร้ายเพื่อปกป้องภายในที่เปราะบาง หรือบางคนอาจไม่ทิ้งความหวังและมองหาหนทางใหม่ ๆ ตลอดเวลา ไม่ต่างอะไรกับคนเราที่มีวิธีรับมือกับความกลัว ความเศร้า หรือความเจ็บป่วยแตกต่างกันออกไป
รีวิว The Midnight Club ความรู้สึกหลังดู
หลายคนอาจจะคาดหวังว่า ‘The Midnight Club’ จะมีสไตล์คล้ายกับ ‘The Creepshow’ แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะสิ่งที่สัมผัสได้ในซีรีส์เรื่องนี้คือกลิ่นอายที่ดูลึกลับของสถานดูแลไบรท์คลิฟท์ ชมรมเก่าแก่ ปริศนาที่ชวนสงสัย ส่วนเรื่องเล่าที่เด็ก ๆ ผลัดกันมาเล่านั้นมีหลากหลายแนว
ทั้งสืบสวน ลึกลับ ไซไฟ แฟนตาซี ใครชอบเรื่องสั้นสไตล์นิยายสยองขวัญแบบตะวันตกที่ลึกลับบางครั้งก็หักมุมก็อาจถูกใจ ส่วนคนที่หวังมาเสพความหลอน ความสยอง อะไรที่เป็นผีแบบเนื้อ ๆ ก็อาจไม่ตอบโจทย์เท่าไร เว้นแต่จังหวะจัมป์แสกร์ที่ใส่มาแบบเยอะมากในตอนแรก
เยอะจนดูเหมือนประชด ซีนนี้ใครชอบก็อาจขำ ๆ แล้วถูกใจไปเลย ส่วนคนไม่ชอบอาจมีรำคาญได้เหมือนกัน (แน่นอนว่าใครที่ขวัญอ่อน ไม่ถูกกับเสียงดนตรีดัง ๆ และจัมป์แสกร์ก็ขอแปะ Warning Trigger เตือนไว้ให้ตรงนี้เลย)
แต่หลังจากจบตอนที่หนึ่ง จังหวะของซีรีส์ดูเข้าที่เข้าทางมากขึ้น ไม่มีจัมป์สแกร์พร่ำเพรื่อแบบตอนแรก ถึงแม้เรื่องราวจะดูเอื่อยบ้างในบางตอน แต่เรื่องเล่าที่ชมรมสยองขวัญเที่ยงคืนเล่าในแต่ละตอนก็น่าสนใจแตกต่างกันไปจนทำให้ดูเพลิน ๆได้ สิ่งที่ดีจริง ๆ ในซีรีส์คือปริศนาชวนติดตามที่เกี่ยวเราเอาไว้ให้รู้สึกอยากดูจนจบ ส่วนผีหรือความหลอนก็ลืม ๆ ไปเถอะ เพราะเรื่องราวเน้นไปที่ความลึกลับและมุมมองชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย มากกว่าความสยองขวัญแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ในส่วนของโปรดักชันต้องขอบอกว่าทำออกมาค่อนข้างดี เนื่องจากเรื่องอยู่ในช่วงยุค 90s เราจะได้เห็นบรรยากาศแบบย้อนยุคสุดคลาสสิก ทั้งแฟชั่นของตัวละคร ยานพาหนะ หรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ นอกจากนี้โลเคชันหลักอย่างไบรท์คลิฟท์ยังเป็นคฤหาสน์ที่ดูสวยงามและลึกลับเหมาะกับเนื้อเรื่องด้วย
‘The Midnight Club’ ไม่ใช่ซีรีส์สยองขวัญที่เต็มไปด้วยเรื่องผีหลอน ๆ ชวนขนหัวลุก แต่บรรยากาศภายในเรื่องจะมีความลึกลับ ปริศนา ชวนให้ค้นหาความจริงมากกว่า หากตัดจังหวะจัมป์สแกร์ที่ใส่มาค่อนข้างเยอะออกไปก็สามารถดูเพลิน ๆ ได้
นักแสดงมีความหลากหลายทำให้ตัวละครแต่ละตัวโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ แต่บางปมในเรื่องที่ใส่เข้ามาก็ดูจะไม่ค่อยจำเป็นเท่าไรแถมบางครั้งยังปล่อยจางจนทำให้คิดว่าตัดจบไปแบบดื้อ ๆ ส่วนด้านการนำเสนอปรัชญา มุมมองชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์และวิทยาศาตร์ ถือว่าทำออกมาได้ดีและน่าสนใจเลยทีเดียว
อีกประเด็นหนึ่งที่อยากพูดถึงคือความตายที่สวนทางกับความเป็นวัยรุ่นวัยกำลังโตและมีอนาคตสดใสรออยู่ เด็ก ๆ ในซีรีส์ The Midnight Club มายังที่แห่งนี้ด้วยความสิ้นหวัง แต่สายสัมพันธ์ผ่านเรื่องเล่า การเรียนรู้จากเรื่องราวของผู้อื่น และการทบทวนเรื่องราวชีวิตตัวเองผ่านการเล่าเอง
ทำให้ต่างก็ตกตะกอนและมีความหวังว่าจะมีชีวิตอยู่ หรือชีวิตอันไม่แฟร์เช่นนี้จะต้องไม่ใช่จุดจบ นำไปสู่ความเชื่อว่ามีโลกหน้ารออยู่ และมันดูจะเป็นความหวังที่ทำให้พวกเขาอยากมีชีวิตอยู่ต่อและได้ใช้ช่วงเวลาในอีกภพ เนื่องจากภพนี้พวกเขาเหลือเวลาอีกไม่มาก พอ ๆ กับ The Paragon ลัทธิประหลาดที่เกี่ยวข้องกับบ้านพัก Brightcliffe แห่งนี้
นอกจากนี้ที่น่าสนใจและน่าสนใจเสมอเมื่อมันเป็นซีรีส์ของ Mike Flanagan คือความคลุมเครือที่ว่าเรื่องราวนี้ตกลงแล้วมีผีจริง ๆ หรือเป็นผีที่จินตนาการ หรือผีที่มาในเชิงสัญลักษณ์เพื่อบอกบางอย่างกันแน่ ซีรีส์ของ Mike สำหรับบางตัวละคร จะมีผีตามหลอกหลอนเสมอ ซึ่งเขาดูจะพูดเป็นนัยในซีรีส์ทุกเรื่องว่า “ผีมักมาในหลายรูปแบบ” ฉะนั้นเรากับตัวละครในเรื่องจึงไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าสิ่งที่เห็นและปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้นนั้น
อย่างไหนหลอนไปเอง คิดไปเอง อย่างไหนของจริง หรือคำถามในภาพใหญ่คือ พวกเขาคิดไปเองหรือไม่ว่ามีเรื่องเหนือความเข้าใจอยู่จริง ๆ (ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องหาคำตอบกัน) อย่างเช่นเงาดำที่ตามตัวละคร ก็อาจทั้งมีจริงและอาจสื่อได้ว่ามันคือความกลัวตายของเด็ก ๆ ที่บางคนหลับตาปี๋ ส่ายหน้า แล้วบอกมันว่า “Not Today” และบางคนยอมจำนนต่อโชคชะตาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง (Inevitable Fate)
สุดท้ายที่อยากพูดถึงคือข้อเสียของซีรีส์เรื่องนี้ ว่ากันอย่างสัตย์จริง The Midnight Clubไม่ใช่ผลงาน Top Tier ของ Mike Flanagan และคงต้องบอกว่าหากให้เทียบกับ 3 เรื่องก่อนหน้า นี่น่าจะเป็นเรื่องที่ความแข็งแรงด้านบท ความเฉียบคมกับการกำกับ ทำให้โดยรวมแล้วอยู่อันดับที่ 4 เลยล่ะ เนื่องจากซีรีส์ค่อนข้างจะสตาร์ทติดช้า (ไม่ช้าเท่า Midnight Mass แต่ก็ถือว่าช้าพอสมควร) มีโทนและจังหวะการเล่าที่ไม่คุ้น มีบทพูดที่ไม่จำเป็นและยาวเกินไปอย่างมากในช่วงแรก ๆ และใช้เวลาอยู่พักใหญ่กว่าจะทำให้คนดูรู้สึกรัก ผูกพัน และยึดโยงกับความรู้สึกตัวละครได้ (แต่เมื่อสตาร์ทติดแล้วจะไปต่อได้อย่างราบรื่น)
แต่สาเหตุที่อยากมาแนะนำและไม่อยากให้พลาด โดยเฉพาะคนที่เป็นแฟนคลับ Mike Flanagan เพราะหลังจากที่ดูไปเรื่อย ๆ ก็ได้ค้นพบว่า Mike Flanagan ยังคงเป็น Mike Flanagan วันยันค่ำ สไตล์ของผู้สร้างคนนี้ยังคงชัด และยังคงแทรกไปด้วยความคมคายเช่นเคย ซึ่งเมื่อไหร่ที่ได้ฟังเรื่องเล่าของตัวละครเหล่านั้นแล้ว ความผูกพันและความอินจะเกิดขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคนอีกที
สิ่งที่บอกได้มีเพียงแค่ว่า ไม่ว่าเนื้อเรื่องใหญ่ด้านสืบสวน ความตายที่กำลังมาเยือน และความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ๆ กันเอง กับเด็ก ๆ และครอบครัวจะดีร้ายแค่ไหน หรือน่าสนใจมากน้อย ความเจ๋งตามลำพังคือเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่าที่ทั้งสนุกและหลากหลายรสชาติ ทำให้หากต้องแนะนำหนังหรือซีรีส์แนว ๆ นี้เมื่อมีใครสักคนถามหา เรื่องนี้จะเป็นหนึ่งในนั้นครับ โดยรวมแล้วนับว่าเป็นซีรีส์ที่สนุกและดีอีกเรื่องของ Mike Flanagan และระหว่างดูก็ได้คิดตามและหันกลับมามองชีวิตตัวเอง กับแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตตัวเองไม่น้อย