รีวิว To The Bone
ความเจ็บป่วยทางจิต อาจทำให้หลายคนทุกข์ทรมาน และ หนัง ภาพยนตร์ To the Bone ก็เป็นหนึ่งในหนังที่พูดถึงประเด็นนี้ โดยพูดถึงการเป็นโรคคลั่งผอม (อะนอเร็กเซีย) ที่ทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งรู้สึกโดดเดี่ยวเพราะไม่มีใครเข้าใจ สำหรับใครที่ชอบดูหนังแนวดราม่า หนังเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่แนะนำดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี
หนัง To the Bone กับเธอผู้โดดเดี่ยว
รีวิว To The Bone เรื่องย่อ
To the Bone เป็นเรื่องของ Ellen ( Lily Collins จาก Love, Rosie ) ซึ่งอาศัยอยู่กับ Susan ผู้เป็นแม่เลี้ยง ( Carrie Preston จาก The Good Wife ) และ Kelly พี่สาวต่างแม่ ( Liana Liberato จาก If I Stay ) ส่วนพ่อก็ทำงานงก ๆ ( ดูจนจบเรื่อง พ่อก็ไม่โผล่มา ) ส่วน Judy ผู้เป็นแม่แท้ ๆ ของเธอ ( Lili Taylor จาก The Conjuring ) ย้ายไปอยู่ที่ชนบทกับคู่เลสเบี้ยนรีวิวหนังใหม่
Ellen ป่วยเป็นโรค Anorexia หรือโรคกลัวอ้วน แม่เลี้ยงจึงส่งไปรักษากับ Dr. William Beckham ( Keanu Reeves จาก John Wick ) ที่นั่นเธอได้เจอกับเพื่อน ๆ ที่มีอาการ eating disorders ( ED ) เหมือนเธอ รวมถึง Luke ( Alex Sharp ) ซึ่งดูเหมือนจะคลั่งไคล้ Ellen เป็นพิเศษ
ด้วยความที่ To the Bone มันเป็นหนัง Netflix ที่ดูบนจอทีวีที่บ้าน เราจึงทำนู่นทำนี่ไปด้วยดูไปด้วย จึงอาจไม่ได้ซึมซับอะไรจากหนัง 100% ( เช่น ไม่ได้เก๊ตกับปรัชญาชีวิตของ Keanu Reeves ผู้เป็นหมอนัก แต่ก็ปล่อยผ่านได้ ) แต่เท่าที่ดู ก็รู้สึกว่าเป็นหนังที่ถึงแม้จะไม่ได้สนุกบันเทิงมากมาย แต่ดูเพลิน ดูง่าย และมีความเป็นหนังครอบครัวเบา ๆ ( นางเอกมีแม่เยอะมาก ตอนอยู่ด้วยกัน ตีกันฮาดี )
เพราะเราจะได้เห็นด้วยว่า การรักษา Ellen ( Lily Collins ) มันไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อเธอมีความต่อต้าน สุดท้ายแล้วการรักษามันจะไม่เป็นผลเลย หากเธอไม่เต็มใจอยากที่จะหายเอง ซึ่งครอบครัวนี่ควรจะเป็นกำลังใจและตัวช่วยสำคัญให้ผู้ป่วยอย่างเธออย่างจริงใจ
ในระหว่างการรักษา เอลเลนต้องย้ายเข้าไปอยู่บ้านร่วมกับผู้ป่วยคนอื่น ๆ และเธอก็ได้พบกับลุค นักเต้นบัลเลต์ที่กำลังดำเนินการรักษาไปได้ด้วยดี ที่ทำตัวเป็นหัวหน้ากลุ่มและคอยให้กำลังใจทุกคน เอลเลนเจอปัญหาหลายอย่างระหว่างการรักษา ทั้งเพื่อนร่วมบ้านที่ยังคงแอบล้วงคออาเจียน หรือกินยาถ่าย และเธอก็ยังหนีไม่พ้นจากแผลในใจ จากการที่งานศิลปะที่เธอโพสต์ลงโซเชียลมีเดียทำให้เด็กสาวคนหนึ่งฆ่าตัวตาย
เมื่อตามดูหนัง ภาพยนตร์ To the Bone ไปเรื่อย ๆ เราจะได้พบว่าเอลเลนนั้นโดดเดี่ยวมาก เธออยู่ในโลกที่ไม่มีใครเข้าใจ หลายคนคิดว่าสิ่งเธอเผชิญมันแก้ไขได้ง่ายมาก เพียงแค่เธอกินเข้าไป แต่จริงๆแล้วโรคนี้มันซับซ้อนกว่านั้น เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกว่าเขาไม่สามารถควบคุมการกินของตัวเองได้เหมือนคนอื่น ๆ หลายคนอาจจะคิดว่าเธอเรียกร้องความสนใจ แต่ถ้าเธอเลือกได้ เธอเองก็ไม่อยากเป็นเช่นนั้น
การกดทับของสังคมต่อผู้หญิง ในหนัง To the Bone
หนัง ภาพยนตร์ To the Bone ทำให้สะท้อนใจ คิดไปถึงค่านิยมความงามที่กดทับผู้หญิงเอาไว้ ผู้หญิงที่สวยจะต้องเป็นผู้หญิงที่ผอม ไร้ไขมันส่วนเกิน ซึ่งภาพเหล่านี้ปรากฏอยู่ตามหน้านิตยสาร ในทีวี และโซเชียลมีเดีย มันทำให้ผู้หญิงอย่างเอลเลนไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง และคิดคำนวณแคลอรีตลอดเวลาในระหว่างที่เธอกินอะไรเข้าไป และนั่นเป็นสาเหตุที่พัฒนากลายมาเป็นโรคนี้ จุดเด่นของหนังคือทำให้เราเข้าใจโรคอะนอเร็กเซียมากขึ้น ผ่านมุมมองที่เห็นใจตัวละครเอก และพยายามพาเราค้นลึกลงไปในความคิดของเธอ
อาหารจากแม่ หนึ่งในความประทับใจของหนัง To the Bone
ฉากหนึ่งใน หนัง ภาพยนตร์ To the Bone ที่ประทับใจ คือฉากที่แม่ของเอลเลนเดินมาหาเธอที่เตนท์ และบอกว่าเธออยากลองป้อนนมจากขวดและกล่อมให้ลูกนอนดู เพราะนั่นอาจคลายปมในใจของเอลเลนได้ ซึ่งในทีแรก เอลเลนคิดว่ามันเป็นความคิดที่ประหลาด
แต่หลังจากแม่ของเธอบอกว่าเธอเข้าใจหากเอลเลนจะเลือกความตาย เอลเลนก็เปลี่ยนความคิด ฉากนี้อาจเรียกน้ำตาจากหลายคนได้ เพราะมันทำให้เรานึกถึงแม่ของเราที่หวังดีและอยากเลี้ยงดูเราให้เติบโตขึ้นมาอย่างดี ปราศจากบาดแผลต่าง ๆ ซึ่งแม้เราทุกคนจะมีบาดแผลในวัยเด็กจากพ่อแม่กันทั้งนั้น แต่พ่อแม่ของเราก็พยายามอย่างดีที่สุดแล้วไม่ใช่หรือ ?
To the Bone เหมือนจะเป็นหนังเรื่องแรก ๆ ที่มุ่งเน้นให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคนดูเกี่ยวกับโรค Anorexia หรือ ED อย่างจริงจัง หนังทำให้เห็นว่า ผอมไม่ได้แปลว่าดี หากแต่ผลกระทบข้างเคียงมากมาย เช่น มีลูกยากหรืออาจจะมีไม่ได้เลย เป็นต้น ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่หนังจะช่วยให้คนเราตระหนักถึงปัญหาและป้องกันความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคนี้มากยิ่งขึ้น
คนที่น่าชื่นชมที่สุดในเรื่องคือ Lily Collins ที่ปกติ ก็ผอมอยู่แล้วนะ แต่ก็ลดน้ำหนักตัวเอง ให้ผอมได้อีก เพื่อเข้าถึงบทบาทของผู้ป่วยโรค Anorexia ซึ่งมันเป็นภาพที่น่ากลัวมาก มันเหมือนกระดูกเดินได้ เหมือนซอมบี้ผีตายซาก คิดดู จากคนสวยมาก ๆ อะ พอมาเป็นแบบนี้คือแทบไม่เหลือความสวย บ่งชี้ให้เห็นกันจะ ๆ ไปเลยว่า ผอมไม่ได้เท่ากับสวยเสมอไป
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ยังไม่นับที่หนังชอบจัดฉากให้เป็นสีโทนเหลือง ๆ กับแดง ๆ อีกนะ (เช่น ครัวที่บ้านนางเอกนี่เหลืองอ๋อยมาก) ซึ่งเหลืองกับแดงนี่เป็นสีที่กระตุ้นต่อมความอยากอาหารเลย ( สังเกต McDonald’s กับ KFC ก็ได้ ) เราดูแล้วรู้สึกหิวและอยาก enjoy eating ทันทีเลยอะ
สุดท้าย ข่าวล่าสุดจาก The Guardian รายงานว่า มาร์ติ นอกซอน (Marti Noxon) ผู้กำกับได้ออกมายอมรับว่า To The Bone ไม่ใช่หนังเกี่ยวกับแอนอเร็กเซียที่ดีพอ และยอมรับความผิดว่า เธออาจจะตีขลุมและเล่าออกมาเฉพาะประสบการณ์ที่เธอประสบเท่านั้น
ความเสี่ยงของคนที่จะเป็นแอนอเร็กเซียมีดังนี้
กังวล หมกมุ่น คิดไม่ตก สลัดไม่ออกเกี่ยวกับเรื่อง ‘น้ำหนัก’ และ ‘รูปร่าง’ถูก ‘วินิจฉัยจากแพทย์’ ว่าเป็นโรควิตกกังวล ( anxiety disorder ) ตั้งแต่เด็กๆ
มักรู้สึกเกลียดรูปร่างตัวเอง เชื่อว่ารูปร่างที่ดี คือความผอมอย่างที่สังคมกำหนด เป็น perfectionist และทำทุกอย่างตามแผนเสมอ และ หากคุณสงสัยว่าตัวเองอาจเข้าข่ายหรือมีอาการใกล้เคียงโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางการกิน หาข้อมูลเพิ่มเติมและทำแบบทดสอบเบื้องต้นได้ที่นี่ ( แบบทดสอบในช่อง Exams and Tests )